ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้ (ประเพณีชักพระ)
วิชา การงานอาชีพและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ง.33101)
เสนอ
อาจารย์พรทิพย์
มหันตมรรค
จัดทำโดย
นายตุลา แก้วลำหัด เลขที่ 10
นางสาวดาวรุณี เพ็ชรมาก เลขที่ 21
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2555
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
บทคัดย่อ
โครงงานเรื่องภูมิปัญญาภาคใต้ ประเพณีชักพระ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาด้านศาสนา
และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมของท้องถิ่น
ประเพณีการชักพระถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาที่คนไทยศาสนาพุทธส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับประเพณีนี้มากเพราะเพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนาน ความพร้อมเพรียง
สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน จึงให้สาระและความสำคัญ
ชาวบ้านได้รู้ว่าอานิสงส์ในการลากพระดีอย่างไร ดังนั้นประเพณีชักพระจึงเป็นที่มีภูมิปัญญาทางด้านท้องถิ่นของคนภาคใต้และทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยให้คงอยู่สืบทอดต่อไป
กิตติกรรมประกาศ
โครงงานฉบับนี้จะสำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์พรทิพย์ มหันตมรรค อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำแนะนำ แนวคิด ตลอดทั้งแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้ศึกษาจึงกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณ คุณนาง สมบูรณ์ รัตนสุภา ผู้ให้คำสัมภาษณ์ขั้นตอนการเรื่อพระและให้ คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ขอขอบพระคุณพ่อแม่และผู้ปกครอง ที่คอยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการเลือกคำ และเกี่ยวกับโครงงานชิ้นนี้
โครงงานฉบับนี้จะสำเร็จลุล่วงได้ด้วยความกรุณาจากอาจารย์พรทิพย์ มหันตมรรค อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานที่ได้ให้คำแนะนำ แนวคิด ตลอดทั้งแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ มาโดยตลอด จนโครงงานเล่มนี้เสร็จสมบูรณ์ ผู้ศึกษาจึงกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง ขอขอบพระคุณ คุณนาง สมบูรณ์ รัตนสุภา ผู้ให้คำสัมภาษณ์ขั้นตอนการเรื่อพระและให้ คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ ขอขอบพระคุณพ่อแม่และผู้ปกครอง ที่คอยให้คำปรึกษาในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเป็นกำลังใจที่ดีเสมอมา ขอบคุณเพื่อนๆ ที่ช่วยให้คำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการเลือกคำ และเกี่ยวกับโครงงานชิ้นนี้
บทที่ 1
บทนำ
แนวคิดที่มาและความสำคัญ
ปัจจุบันนี้คนไทยไม่นิยมเข้าวัด ทำบุญ ไม่เห็นความสำคัญของศาสนา เหมือนสมัยก่อน
และทำให้คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธสมัยนี้ ไม่มีความสามัคคีในหมู่คณะ
ก็เลยทำให้มีการจัดประเพณีลากพระในวันออกพรรษา
ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11
เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน
จึงให้สาระและความสำคัญ ชาวบ้านเชื่อว่า
อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล เกิดคติความเชื่อว่า
"เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก" นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค
เพราะเชื่อว่าให้น้ำ การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก
ส่งผลให้พบความสำเร็จในชีวิต ดังนั้นเมื่อนมพระลากผ่านหน้าบ้านของใคร
คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย เกิดแรงบันดาลใจ แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ
ซึ่งมักจะเป็นบทกลอนสั้น ๆ ตลก ขบขัน และโต้ตอบกัน ได้ฝึกทั้งปัญญาและปฏิภาณไหวพริบ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ได้ตระหนักถึงความสำคัญ ยอมรับภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเอง มีความรัก ความ ภาคภูมิใจ
และรู้คุณค่าในภูมิปัญญาท้องถิ่นของเรา
2. เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นประเพณีการชักพระ
3. เพื่อศึกษาให้รู้ว่าประเพณีชักพระมีความเป็นมาอย่างไร
หลักการและทฤษฎี
นาย มนัส โสกันธิกา
นายอำเภอทุ่งสง ร่วมกับนาย ทรงชัย วงษ์วัชรดำรง นายกเทศมนตรีเมืองทุ่งสง
จัดงานปะเพณีงานชักพระและมีแห่เรือพนมพระอย่างยิ่งใหญ่ขึ้นระหว่างวันที่ 8 ตุลาคม
- 17 ตุลาคม ของทุกปี ณ สนามหน้าที่ว่าการอำเภอทุ่งสง โดยมีขบวนชักพระจากวัดต่าง ๆ
ในอำเภอทุ่งสง เข้าร่วมประชันความสวยงาม มีประชาชนเข้าร่วมงานชักพระเป็นจำนวนมาก และได้ร้องเพลงแห่ไปจนถึงจุดปลายทางที่สนามหน้าที่ว่าการอำเภอทุ่งสง ประเพณีชักพระนี้ได้สร้างความสามัคคีให้ชาวบ้านที่มาร่วมในงาน คนที่อยู่ในบ้านจะออกมาช่วยลากพระ
และคนบ้านอื่นจะมารับทอดลากพระต่ออย่างไม่ขาดสาย เกิดแรงบันดาลใจ
แต่งบทร้อยกรองสำหรับขับร้องในขณะที่ช่วยกันลากพระ
และทำให้มีความสนุกสนานเพลิดเพลินไปอีกด้วย ประเพณีชักพระถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ควรส่งเสริมและอนุรักษ์ไว้
ขอบเขตของโครงงาน
1.ศึกษาประวัติประเพณีชักพระเครื่องจากอินเตอร์เน็ต
2.สอบถามจากผู้รู้คือ
สถานที่ไปทำโครงงาน
บ้านเลขที่ 100 หมู่ 6 ตำบนถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบถึงวิธีการทำเรือที่จะชักพระของชาวภาคใต้
2.เป็นการช่วยอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคใต้คือ ประเพณีการชักพระ
3.ได้ทำให้ชาวบ้านที่มาร่วมงานมีความสามัคคี
บุคคลานุกรม
นาง สมบูรณ์ รัตนสุภา
ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านเลขที่ 100 หมู่ 6 ตำบนถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ประวัติความเป็นมาของประเพณีชักพระ
ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้
ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน 11 ซึ่งเชื่อกันว่า
เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้า เสด็จไปจำพรรษา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อโปรดพระมารดา
เมื่อครบพรรษาจึงเสด็จมายังโลกมนุษย์ พุทธศาสนิกชนจึงมารอรับเสด็จ
แล้วอัญเชิญพระพุทธ เจ้าขึ้นประทับบน บุษบกแล้วแห่ไปรอบเมือง
ประเพณีชักพระเป็นประเพณีทพราหมณ์ศาสนิกชนและพุทธศาสนิกชนปฏิบัติสืบต่อกันมา สันนิษฐานว่าประเพณีนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอินเดีย ที่นิยมเอา
เทวรูปออกแห่ในโอกาสต่าง ๆ ต่อมาพุทธศาสนิกชนได้นำเอาคติความเชื่อดังกล่าวมาปรับปรุงให้สอดคล้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา ประเพณีชักพระเล่ากันเป็นเชิงพุทธตำนาน ว่า
หลังจากพระพุทธองค์ทรงกระทำยมกปาฏิหารย์ปราบเดียรถีย์ ณ ป่ามะม่วง กรุงสาวัตถี
แล้วได้เสร็จไปจำพรรษา ณ ดาวดึงส์เพื่อโปรดพุทธมารดา
ซึ่งขณะนั้นทรงจุติเป็นมหามายาเทพ สถิตอยู่ ณ ดุสิตเทพพิภพตลอดพรรษา
พระพุทธองค์ทรงประกาศพระคุณของมารดาแก่เทวสมาคมและแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา 7 คัมภีร์ จนพระมหามายาเทพและเทพยดา ในเทวสมาคมบรรลุโสดาบันหมด ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 อันเป็นวันสุดท้ายของพรรษา
พระพุทธองค์ได้เสด็จกลับมนุษยโลกทางบันได ทิพย์ที่พระอินทร์นิมิตถวาย
บันไดนี้ทอดจากภูเขาสิเนนุราชที่ตั้งสวรรค์ ชั้นดุสิตมายังประตูนครสังกัสสะ
ประกอบด้วยบันไดทอง บันไดเงินและบันไดแก้ว บันไดทองนั้นสำหรับเทพยดา
มาส่งเสด็จอยู่เบื้องขวาของพระพุทธองค์
บันไดเงินสำหรับพรหมมาส่งเสด็จอยู่เบื้องซ้ายของพระพุทธองค์
และบันไดแก้วสำหรับพระพุทธองค์อยู่ตรงกลาง เมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึง
ประตูนครสังกัสสะตอนเช้าตรู่ของวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งเป็นวันออกพรรษานั้น พุทธศาสนิกชนที่ทราบกำหนดการเสด็จกลับของพระพุทธองค์จากพระโมคคัลลานได้มารอรับเสด็จ
อย่างเนืองแน่นพร้อมกับเตรียมภัตตาหารไปถวายด้วย
แต่เนื่องจากพุทธศาสนิกชนที่มารอรับเสด็จมีเป็นจำนวนมากจึงไม่สามารถจะเข้าไปถวายภัตตาหารถึงพระพุทธองค์ได้ทั่วทุกคน
จึงจำเป็นที่ต้องเอาภัตตาหารห่อใบไม้ส่งต่อ ๆ กันเข้าไปถวายส่วนคนที่อยู่ไกลออกไปมาก
ๆ จะส่งต่อ ๆ กันก็ไม่ทันใจ จึงใช้วิธีห่อภัตตาหารด้วยใบไม้โยนไปบ้าง ปาบ้าง
ข้าไปถวายเป็น ที่โกลาหล
โดยถือว่าเป็นการถวายที่ตั้งใจด้วยความบริสุทธิ์ด้วยแรงอธิษฐานและอภินิหารแห่งพระพุทธองค์
ภัตตาหารเหล่านั้นไปตกในบาตรของพระพุทธองค์ทั้งสิ้น เหตุนี้จึงเกิด ประเพณี
"ห่อต้ม" "ห่อปัด" ขึ้น
เพื่อเป็นการแสดงถึงความปิติยินดีที่พระพุทธองค์เสด็จกลับจากดาวดึงส์ พุทธศาสนิกชน
ได้อัญเชิญพระพุทธองค์ขึ้นประทับบนบุษบกที่เตรียมไว้
แล้วแห่แหนกันไปยังที่ประทับของพระพุทธองค์ ครั้นเลยพุทธกาลมาแล้วและเมื่อมีพระพุทธรูปขึ้น
พุทธศาสนิกชนจึงนำเอาพระพุทธรูปยกแห่แหนสมมติแทนพระพุทธองค์
บทที่
3
วิธีการดำเนินงาน
วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าตามลำดับดังต่อไปนี้
1. ขั้นศึกษาข้อมูล
1.1 ขั้นสำรวจและศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
โดยการสำรวจและศึกษาเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องประเพณีชักพระ
1.2 ศึกษาอุปกรณ์การทำเรือที่จะชักพระ ณ
วัดถ้ำใหญ่ อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
2. ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล
2.1
ได้มีการเก็บรวมรวมข้อมูลจากการสำรวจและศึกษาจากเอกสารที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประเพณี
ชักพระ
2.2 ได้เก็บรวบรวมข้อมูลจากการได้สังเกต และสัมภาษณ์
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาศึกษา
และวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์และเรียบเรียงนำเสนอในเชิงความเรียง
บทที่ 4
ผลการศึกษา
ขั้นตอนการทำ
1.แบบที่เตรียมไว้
สำหรับที่จะวาด
2.การวาดภาพ จะวาดเป็นรูปร่าง ตามที่เตรียมไว้
3. ภาพที่วาดเสร็จแล้ว
4. เตรียมโฟมเพื่อจะตัดตามรอยที่วาด
5.การตัดโฟมเพื่อให้เข้ารูป
6.หลังการระบายสี
7.ประกอบเพื่อให้เป็นรูปร่างหัวพญานาค
8.หลังจากประกอบหัวพญานาค
เครื่องประดับประดาเรือพระ
เครื่องประดับประดาเรือพระ
ประดับด้วยธงผ้าแพรสี นอกจากนี้ ยังมีธงราว ธงยืนห้อยระโยง ระยาง และมีเครื่องประดับแต่งอื่น ๆ เช่น อุบะดอกไม้แห้ง ระย้าย้อย ต้นกล้วย ต้นอ้อย มะพร้าว ข้าวต้ม เป็นต้น
ข้าวต้มหรือต้มสำหรับซัดต้มพระ
อุบะดอกไม้แห้ง
ต้นกล้วย
ต้นอ้อย
มะพร้าว
เครื่องดนตรีประกอบด้านหลังของเรือพระ
เครื่องดนตรีประกอบด้านหลังของเรือพระพระมีโพน (กลองเพล) ฆ้อง
โหม่ง ฉิ่ง ฉาบ ซึ่งใช้สำหรับ ประโคม ที่ด้านหน้าของหัวเฆ่ หรือนาคทั้งสอง มีนาคขนาดใหญ่พอกำรอบ ยาวประมาณ 30 เมตร ผูกอยู่ข้างละเส้น เชือกนี้สำหรับให้ชาวบ้านลากพระ ถ้าหาก การลากพระนั้น เป็นการลากบนถนนหรือพื้นที่เรียบนิยมทำล้อ 4 ล้อ
ที่ใช้ตัวนาค ทั้งสองข้างด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องออกแรงในการลากพระมากนัก
แต่ถ้าผ่านที่ไม่เรียบ หรือผ่านทุ่งนา ก็ไม่นิยมใส่ล้อ แต่จะคงตามแบบเดิมไว้
สำหรับในปัจจุบัน นิยมทำเรือพระบกบนรถยนต์เป็นส่วนใหญ่ เพราะสะดวกต่อการชักลาก
โพน
ฆ้องโหม่ง
ฉาบ
ฉิ่ง
...........................................................................................................................................
เรือก่อนที่จะประกอบ
เรือที่ประกอบเสร็จสิ้นแล้ว
ประเพณีการชักพระ
วงดนตรีประกอบขบวนชักพระ
เนื้อร้อง
เนื้อเพลง ชักพระ
สันติภาพ แสงจันทร์ ณ เมืองคอน
สันติภาพ - ชักพระ
เสียงกองกึกก้องดังระรัว เมฆฝนก่อตัวตั้งเค้ามา
หน้าฝนไม่ได้กรีดยางพารา วันออกพรรษาร่วมกันทำบุญ
ครั้นพุทธกาลนานผ่านมา พ่อเฒ่าแม่เฒ่าเล่ามา
เข้าช่วงฤดูทำนาแรมค่ำ 11 แล้วหนา ชักพระ
สันติภาพ - ชักพระ
เสียงกองกึกก้องดังระรัว เมฆฝนก่อตัวตั้งเค้ามา
หน้าฝนไม่ได้กรีดยางพารา วันออกพรรษาร่วมกันทำบุญ
ครั้นพุทธกาลนานผ่านมา พ่อเฒ่าแม่เฒ่าเล่ามา
เข้าช่วงฤดูทำนาแรมค่ำ 11 แล้วหนา ชักพระ
เอ้าเพื่อน เอ้า เอ้าบ่าวเอ้า เอ้าสาวเอ้า
หนุ่มสาวออกมาร่วมร้องรำ พ่อแกแม่ฉันยังต้องมา
ข้าวต้มมัดเรียงแขวนไว้ชายคา ตกแต่งเรือพระให้ดูสวยงาม
ร่วมแรงร่วมดึงตามเสียกลองโยน เปื้อนสีเปื้อนโคลนเป็นธรรมดา
ร้องเพลงรำวง โยกย้ายลีลาสองมือช่วยดึงสองขาวิ่งพา เอ้าชักพระ
ชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ
อีสาวละพา เฮโล เฮโล อีสาวละพา เฮโล เฮโล
มาแล้วละวา เฮโล เฮโล มาละเว้อ
ตักบาตร สรงน้ำทำบุญร่วมกัน แบ่งบุญแบ่งปันด้วยกันทุกคน
ด้วยจิตศรัทธาขอบังเกิดผล ประพรมน้ำมนต์เพื่อเป็นแรงใจ
ร่วมใจรักษ์ประเพณีวันนี้วันดีของสังคมไทย
ลูกๆหลานๆ จะจำเอาไว้ทางบกแห่ได้ทางน้ำแห่ดี
เอ้าชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ ชักพระ
อีสาวละพา เฮโล เฮโล อีสาวละพา เฮโล เฮโล
มาแล้วละวา เฮโล เฮโล มาแล้วละวา
เฮโล เฮโล ถึงวัดละวา เฮโล เฮโล ถึงวัดละเว้อ
บทที่ 5
สรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ประเพณีชักพระ เพื่อมาศึกษาวิธีการชักพระ
และทำให้ได้รู้ถึงรูปแบบวิธีการประดิษฐ์และวัฒนธรรม การอนุรักษ์ของชุมชนในท้องถิ่นภาคใต้อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่สมควรรับการอนุรักษ์ตลอดไป
จากการศึกษาพบว่า ประเพณีชักพระเป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวใต้
ซึ่งเป็นประเพณีทำบุญในวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับ วันแรม 1 ค่ำเดือน
11 เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความพร้อมเพรียง สามัคคีพร้อมใจกันในการทำบุญทำทาน
จึงให้สาระและความสำคัญ ชาวบ้านเชื่อว่า อานิสงส์ในการลากพระ จะทำให้ฝนตกตามฤดูกาล
เกิดคติความเชื่อว่า "เมื่อพระหลบหลัง ฝนจะตกหนัก"
นมพระจึงสร้างสัญลักษณ์พญานาค เพราะเชื่อว่าให้น้ำ
การลากพระจึงสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนในสังคมเกษตร เป็นประเพณีที่ปฏิบัติตามความเชื่อว่า ใครได้ลากพระทุกปี จะได้บุญมาก
ประเพณีชักพระ
จึงเป็นอีกภูมิปัญญาหนึ่งที่เราควร อนุรักษ์ถึงวัฒนธรรมของชุมชน
ที่ได้สะท้อนความเป็นอยู่ของชาวบ้านในท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราชตามที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา
ประโยชน์ที่ได้รับ
1. ทราบถึงวิธีการประดิษฐ์จนถึงการลากเรือพระ
2.
เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีบทบาทในการพัฒนาด้านศาสนา
และรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และ วัฒนธรรมของท้องถิ่น
3.ได้ทราบว่าประเพณีชักพระมีตรงกับวันไหน
ข้อเสนอแนะ
การวิจัยเรื่อง ประเพณีชักพระเพื่อประกอบการศึกษาข้อมูล ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะดังต่อไปนี้
1.
ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1
ควรจะนำผลจากการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ไปปรับใช้ หรือบอกต่อคนในชุมชนอื่นๆที่สนใจเพื่อ อนุรักษ์
และสืบสานต่อไป
1.2 ควรจะนำผลการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้เผยแพร่ให้กับบุคคลที่สนใจ
เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุง
เพื่อให้เข้ากับชุมชน
2.
ข้อเสนอแนะเพื่อการทำวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรจะได้ศึกษา
รูปแบบวิถีชีวิตว่าประเพณีเป็นอย่างไร
และควรจะศึกษาข้อแตกต่างจากหลายๆชุมชนเพิ่มเติม